จดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง : ประเพณีรักสุดโรแมนติกแห่งแดนอีสาน
ณ โครงการโลกของช้าง ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์เป็นดินแดนที่มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้างมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในอำเภอท่าตูม ซึ่งมีชาวกูยหรือกวยที่สืบสานภูมิปัญญาการคล้องและเลี้ยงช้างมาหลายชั่วอายุคน จากภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ ได้กลายมาเป็นไฮไลต์ทางวัฒนธรรมที่ผสานกับความรัก กลายเป็น งานจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่
คู่บ่าว-สาว
คู่บ่าว-สาวจะได้เข้าร่วม พิธีซัตเต ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีการแต่งงานแบบพื้นบ้านของชาวกวย, กูย, ส่วย หรือ เยอ
คำว่า "ซัตเต" เป็นภาษาส่วย แปลว่า "ผูกแขน" หรืออาจจะเรียกตามภาษาเขมรถิ่นไทยในแถบสุรินทร์ว่า "ฮาวปลึงจองได" ก็ได้ ซึ่งคำว่า "ฮาวปลึง" หมายถึง "การเรียกขวัญ" ส่วนคำว่า "จองได" มีความหมายว่า "ผูกข้อผูกแขน หรือ ผูกข้อมือ" ซึ่งตามประเพณีอีสานทั้งอีสานเหนือ อีสานใต้ การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นการแสดงความชื่นชมยินดีให้กับเจ้าของขวัญ ให้มีความสุข อายุยืนยาว
พิธีการสู่ขวัญ หรือสูตรขวัญ
พิธีจะจัดโดยพ่อหมอหรือพราหมณ์เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งการสวดนี้ใช้ภาษาท้องถิ่นแตกต่างไปในจังหวัดทางอีสานใต้ใช้ภาษาเขมร เมื่อเสร็จสิ้นการสวดแล้วก็จะมีการผูกข้อมือโดยพราหมณ์ และญาติผู้ใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของการรับขวัญและจากนั้นจะมีพิธีเลี้ยงอาหารช้าง เพิ่มความเป็นสิริมงคล
พิธีการสู่ขวัญ หรือสูตรขวัญ
พิธีเลี้ยงอาหารช้าง
พิธีการและบรรยากาศ
คู่รักที่เข้าร่วมงานจะสวมชุดพื้นเมืองหรือชุดไทยประยุกต์ ขึ้นนั่งบนหลังช้างที่ประดับประดาอย่างสวยงาม ขบวนแห่จะเคลื่อนไปท่ามกลางเสียงดนตรีพื้นบ้านและการแสดงทางวัฒนธรรม ก่อนจะทำการจดทะเบียนสมรสอย่างเป็นทางการโดยเจ้าหน้าที่อำเภอ ซึ่งดำเนินการบนหลังช้าง ท่ามกลางสายตาของผู้ร่วมงานและนักท่องเที่ยว
ความหมายและสัญลักษณ์
การจดทะเบียนสมรสบนหลังช้างไม่ใช่เพียงแค่การจดทะเบียนธรรมดา แต่เปี่ยมไปด้วยความหมาย ช้าง ถือเป็นสัตว์มงคลในวัฒนธรรมไทย สื่อถึงความมั่นคง แข็งแรง และยืนยาว การให้คู่รักเริ่มต้นชีวิตสมรสด้วยพิธีที่งดงามเช่นนี้ จึงเป็นเสมือนคำอวยพรให้รักของพวกเขายืนยาวและมั่นคงตลอดไป
โรงแรมจังหวัดสุรินทร์
ข้าวอินทรีย์สุรินทร์
เราคัดสรรข้าวอินทรีย์ชั้นเยี่ยมพันธุ์ดีเพาะปลูกด้วยแนวทางเกษตร อินทรีย์ เช่น ข้าวหอมมะลิ, ข้าวกล้องหอมมะลิ, ข้าวกล้องปะกาอำปึล, ข้าวผสมห้าสายพันธุ์, ข้าวมะลินิลสุรินทร์ ข้าวไรซ์เบอรี่ และ ข้าวมะลิแดง เพาะปลูกปีละครั้งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เราใส่ใจในทุกกระบวนการเกษตรอินทรีย์ วิถีธรรมชาติ จากที่นาอินทรีย์ส่งมอบคุณค่าเพื่อสุขภาพ ข้าวอินทรีย์ 100% จากมือชาวนาสู่ผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์ "ข้าวเกษตรอินทรีย์สุรินทร์" ของเราได้รับมาตรฐานดังต่อไปนี้
"มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย" ("Organic Thailand")
มาตรฐาน "PGS Thailand" การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
"ข้าวพันธุ์แท้" จากกรมการข้าว จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ของดีเมืองสุรินทร์ Surin Best
GI ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ Surin Hommali Rice